บทที่1 คลื่นกล

บทที่ 1 คลื่นกล


          คลื่นกล หมายถึง การแผ่คลืนหรือการถ่ายโอนพลังงานของคลื่นต้องมีโมเลกุลหรืออนุภาคตัวกลางเป็นตัวถ่ายโอนพลังงานจึงจะทำให้คลื่นแผ่ออกไปได้

1.1 ชนิดของคลื่นกล = โดยพิจารณาทิศทางของการเคลื่อนที่ของคลื่นและของตัวกลางที่ถูกรบกวน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
  1.  คลื่นตามขวาง (Transverse Wave) คือ คลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านมีการเคลื่อนที่ไปกลับในทิศทางที่ตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนของคลื่น เช่น คลื่นน้ำคลื่นในเส้นเชือก เป็นต้น
    คลื่นตามขวาง
  2.  คลื่นตามยาว (Longitudinal Wave) คือ คลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านมีการเคลื่อนที่ไปกลับในทิศทางที่เดียวกันกับทิศทางการเคลื่อนของคลื่น เช่น คลื่นเสียงคลื่นในสปริง เป็นต้น 
    คลื่นตามยาว
     

 1.2 ปริมาณที่เกี่ยวกับคลื่น 
  1. แอมพลิจูด คือ ขนาดของการกระจัดที่มีค่ามากที่สุด ที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ขณะคลื่นเคลื่อนที่ผ่าน 
  2. ความยาวคลื่น คือ ระยะห่างที่มีค่าน้อยที่สุดระหว่างตำแหน่ง 2 ตำแหน่ง ที่มีขนาดของการกระจัดเท่ากัน และมีทิศทางการกระจัดตรงกัน
  3. คาบ คือ ช่วงเวลาที่มีอนุภาคของอนุภาคเคลื่อนที่กลับไปกลับมาครบ 1 รอบ 
  4. ความถี่ คือ จำนวนรอบที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่กลับไปกลับมาใน 1 วินาที
1.3 อัตราเร็วของคลื่น คือ ระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา มีหน่วยเป็น เมตรต่อวินาที ในช่วงหนึ่งคาบเวลาของการสั่นแหล่งกำเนิด จะทำให้หน้าคลื่นเดินทางไปได้เป็นระยะค่าหนึ่ง

1.4 การรวมคลื่น คือ เมื่อคลื่น 2  ขบวนผ่านมาในบริเวณเดียวกัน มันจะรวมกัน  โดยอาศัยหลักการซ้อนทับของคลื่น
การรวมคลื่น


1.5 สมบัติของคลื่น 

  1.   การสะท้อนของคลื่น
              การสะท้อนของคลื่น หมายถึง การเปลี่ยนทิศทางการเดินทางของคลื่นโดยทันทีทันใดเมื่อคลื่นนั้นเดินทาง ตกกระทบที่ผิวของตัวกลาง
    การสะท้อนของคลื่น
  2.  การหักเห  คือ ปรากฏการณ์ที่อัตราเร็วของคลื่นเกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งที่มีความแตกต่างกัน โดยที่ความถี่ของคลื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลง
    การหักเหของคลื่นวิทยุ
  3. การเลี้ยวเบน  คือ ปรากฏการณ์ที่ทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นเบนไปจากแนวเดิมเมื่อพบสิ่งกีดขวาง หรือช่องเปิดที่มีขนาดเท่ากับ หรือน้อยกว่าความยาวคลื่น
    การเลี้ยวเบน
  4. การแทรกสอด คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดจากกการรวมกันของคลื่นตั้งแต่ 2 ขบวน ที่มีค่าความถี่เท่ากัน
          









ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่4 พลังงานนิวเคลียร์

บทที่3 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า