บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2017

บทที่4 พลังงานนิวเคลียร์

รูปภาพ
บทที่ 4 พลังงานนิวเคลียร์      พลังงานนิวเคลียร์ คือ พลังงานรูปแแบบหนึ่งที่ได้จากความร้อนในปฎิกิริยานิวเคลียร์ เพื่อประโยชน์ในการสร้างความร้อนและผลิตไฟฟ้า 4.1  การค้นพบกัมมันตภาพรังสี คือ ได้มีการค้นพบธาตุกัมมันตรังสี 2 ธาตุ คือ พอโลเนียม และ เรเดียม ซึ่งรังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุกัมมันตรังสีนั้น เกิดจากการสลายตัวของนิวเคลียสของอะตอมที่ไม่เสถียร เรียกการสลายตัวแบบนี้ว่า กัมมันตภาพรังสี 4.2 ไอโซโทป (Isotope) คือ อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันที่มีโปรตอนเท่ากัน(หรืออิเล็กตรอนเท่ากัน) แต่มีเลขมวลและจำนวนนิวตรอนต่างกัน (หรือมีมวลต่างกัน อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากัน แต่จำนวนนิวตรอนอาจจะไม่เท่ากันก็ได้ ซึ่งมีผลทำให้มวลต่างกัน   ไอโซโทป 4.3 กัมมันตภาพรังสี คือ เมื่อจำนวนนิวตรอนเพิ่มขึ้น จะทำให้นิวเคลียสไม่เสถียร และเกิดการเสื่อมสลายโดยตัวเอง หรือเกิดกัมมันตภาพรังสี และเรียกไอโซโทปของธาตุที่เกิดกัมมันตภาพรังสีนั้นว่า  ไอโซโทปกัมมันตรังสี (radioactive isotope)   ป้ายสัญลักษณ์กัมมันตภาพรังสี ...

บทที่3 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

รูปภาพ
บทที่3 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 3.1  ความสัมพันธ์ระหว่างสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  เกิดจากการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า ( Electromagnetic disturbance)  โดยการทำให้สนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสนามไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก หรือถ้าสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลงก็จะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นตามขวาง ประกอบด้วยสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่มีการสั่นในแนวตั้งฉากกัน และอยู่บนระนาบตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง จึงสามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้ 3.2 การเกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือ สามารถเกิดจากประจุที่เคลื่อนที่กลับไปกลับมาหรือ เคลื่อนที่ด้วยความเร่ง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามไฟฟ้ารอบๆประจุตลอดเวลา ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น และแผ่ออกไปรอบเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 3.3 สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือ จะประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่และความยาวคลื่นแตกต่างกัน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ คลื่นแสงที่ตามองเห็น อัลตราไวโอเลต อินฟราเรด คล...

บทที่2 เสียง

รูปภาพ
บทที่ 2 เสียง           เสียง เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง 2.1 การเคลื่อนที่ของคลื่นเสียง คือ เกิดจากการสั่นสะเทือนของแหล่งกำเนิดเสียง แล้วส่งผ่านอนุภาคของตัวกลาง 2.2 อัตราเร็วของเสียง คือ ระยะทาง ที่ เสียง เดินทางไปในตัวกลางใดๆ ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา โดยทั่วไปเสียงเดินทางในอากาศที่มีอุณหภูมิ 25°C (= 298,15 K) ได้ประมาณ 346 เมตร/วินาที และในอากาศที่อุณหภูมิ 20°C ได้ประมาณ 343 เมตร/วินาที อัตราเร็วที่เสียงเดินทางได้นั้นอาจมีค่ามากขึ้นหรือน้อยลงขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิของตัวกลางเป็นหลัก และอาจได้รับอิทธิพลจาก ความชื้น บ้างเล็กน้อย แต่ไม่ขึ้นกับ ความดันอากาศ 2.3 ความถี่ของคลื่นเสียง คือ โดยธรรมชาติของมนุษย์สามารถรับรู้ความถี่เสียงได้ตั้งแต่  20 Hz – 20 kHz  ความสามารถ ในการรับรู้ในย่านของความถี่นั้นก็จะแตกต่างไปซึ่งในผู้หญิงและชายหนุ่มสามารถได้ยินที่ความ ถี่สูงสุดที่  20,000 Hz  หรือเรียกย่อ ๆ ว่า  20 ...

บทที่1 คลื่นกล

รูปภาพ
บทที่ 1 คลื่นกล           คลื่นกล  หมายถึง การแผ่คลืนหรือการถ่ายโอนพลังงานของคลื่นต้องมีโมเลกุลหรืออนุภาคตัวกลางเป็นตัวถ่ายโอนพลังงานจึงจะทำให้คลื่นแผ่ออกไปได้ 1.1 ชนิดของคลื่นกล = โดยพิจารณาทิศทางของการเคลื่อนที่ของคลื่นและของตัวกลางที่ถูกรบกวน สามารถแบ่งได้เป็น  2  ชนิดคือ   คลื่นตามขวาง  (Transverse Wave)  คือ คลื่นที่ ทำให้อนุภาคของตัวกลางที่คลื่น เคลื่อนที่ผ่านมีการเคลื่อนที่ไปกลับในทิศทางที่ตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนของคลื่น เช่น คลื่นน้ำ ,  คลื่นในเส้นเชือก เป็นต้น คลื่นตามขวาง   คลื่นตามยาว  (Longitudinal Wave)  คือ  คลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางที่คลื่น เคลื่อนที่ผ่านมีการเคลื่อนที่ไปกลับในทิศทางที่เดียวกันกับทิศทางการเคลื่อนของคลื่น เช่น คลื่นเสียง ,  คลื่นในสปริง เป็นต้น  คลื่นตามยาว    1.2 ปริมาณที่เกี่ยวกับคลื่น  แอมพลิจูด คือ ขนาดของการกระจัดที่มีค่ามากที่สุด ที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ขณะคลื่นเคลื่อนที่ผ่าน  ความยา...